วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 4 เครื่องมือใน Photoshop

                                  

การย่อหรือขยายขนาด ด้วยวิธีนี้จะสามารถกำหนดขนาดของภาพได้ ต้องการย่อขยายเท่าใดก็พิมพ์ตัว เลขลงไป ง่ายและแน่นอนกว่า
1. คลิกเมนู Object>>Transform>>Scale เปิดกรอบข้อความ Scale ขึ้นมาก่อน
2. คลิกเครื่องมือเลือกภาพ Selection แล้วคลิกเลือกภาพที่ต้องการ
3. คลิกและพิมพ์เปอร์เซ็นต์ที่ต้องการย่อหรือขยาย ถ้าจะย่อก็ลดค่าให้น้อยกว่าเดิมจะขยายก็เพิ่ม ค่าตัวเลขให้มากกว่าเดิม
4. คลิกติ๊กถูกคำสั่ง Preview เพื่อดูผลงานขณะปรับแต่งบัดเดี๋ยวนั้น
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

การหมุนภาพ (Rotate) และการกลับด้านภาพ (Flip)
   บทความนี้จะมาทำการเรียนรู้วิธีการหมุนและกลับด้านภาพกันค่ะ เป็นบทความพื้นฐานที่ทำได้ง่าย ๆ แต่หากไม่ทราบก็จะทำให้การตกแต่งภาพไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการได้ ดังนั้นเราควรมีความรู้ในเรื่องนี้ไว้ค่ะ
การตกแต่งภาพใน Photoshop ในบางครั้งเราจะต้องทำการหมุนหรือกลับด้านภาพ ซึ่งมีลักษณะการใช้อยู่ 2 แบบคือ

1. การหมุนและกลับด้านแบบทั้งชิ้นงาน
2. การหมุนและกลับด้านภาพเฉพาะเลเยอร์

วิธีการหมุนภาพ
1 การหมุนภาพแบบทั้งชิ้นงาน สามารถทำได้โดยเลือกคำสั่ง Image --> Rotate Canvas แล้วเลือก
180 องศา เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 180 องศา หรือ
90 องศา CW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางตามเข็มนาฬิกา หรือ
90 องศา CCW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา หรือ
Arbritary ... เลือกแบบสามารถกำหนดองศาที่ต้องการหมุนภาพ โดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้มีทิศทางทวนหรือตามเข็มนาฬิกา

2.การหมุนภาพเฉพาะเลเยอร์ การหมุนภาพเฉพาะเลเยอร์นั้น ให้เราทำการคลิกเลือกเลเยอร์ที่ ต้องการหมุนก่อน จากนั้นสามารถทำได้โดยเลือกใช้คำสั่ง Edit --> Transform จากนั้นเลือก
Rotate 180 องศา เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 180 องศา หรือ
Rotate 90 องศา CW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางตามเข็มนาฬิกา หรือ
Rotate 90 องศา CCW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ผลลัพธ์การใช้งานทั้งสองรูปแบบจะทำให้ได้เกิดการหมุนภาพเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่คำสั่งการหมุนภาพทั้งชิ้นงาน จะทำให้ภาพในทุก ๆ เลเยอร์หมุนตามคำสั่งที่ใช้ แต่การใช้คำสั่งแบบที่ 2 จะทำให้ภาพในเลเยอร์ที่เลือกไว้เท่านั้นที่เกิดการหมุนตามคำสั่งที่ใช้ โดยภาพในเลเยอร์อื่น ๆ ยังคงมีลักษณะเหมือนเดิม

นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถหมุนภาพได้อิสระโดยไม่จำเป็นต้องทำการกำหนดค่าเป็นองศาได้ แต่วิธีการนี้จะสามารถใช้หมุนภาพเฉพาะในเลเยอร์เท่านั้น โดยใช้คำสั่ง Edit --> Transform --> Rotate ซึ่งจะทำให้ภาพในเลเยอร์ที่เราเลือกไว้ เกิดลักษณะเส้นขอบดังภาพด้านล่าง ซึ่งเราสามารถใช้เมาส์เคลื่อนเข้าไปใกล้ ๆ บริเวณที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมบนเส้นขอบ จะทำให้สัญลักษณ์ของเมาส์เปลี่ยนเป็นเส้นโค้งมีลูกศรทั้งสองข้าง ให้เราคลิกมาค้างไว้ แล้วลากเมาส์จะทำให้ภาพของเราหมุนไปตามทิศทางที่ลากเมาส์

หากเราสังเกตที่รูปเราจะเห็นสัญลักษณ์ที่จุดศูนย์กลางของรูป ซึ่งเจ้าสัญลักษณ์นี้ เป็นตัวกำหนดจุดศูนย์กลางของการหมุนภาพ เราสามารถเลื่อนสัญลักษณ์ของตำแหน่งนี้ไปไว้ที่ตำแหน่งไหนก็ได้ ลองทำดูนะค่ะ ว่าจะแตกต่างจากปกติอย่างไร


การกลับด้านภาพ
เป็นลักษณะการกลับภาพจากซ้ายไปขวา หรือลักษณะการกลับด้านแบบที่มองเห็นในกระจกเงาค่ะ มีด้วยกัน 2 แบบเหมือน ๆ กลับการหมุนภาพ นั้นก็คือ

1. การกลับด้านภาพแบบทั้งชิ้นงาน สามารถทำได้โดยการเลือกคำสั่ง Image --> Rotate Canvas แล้วเลือก
Flip Canvas Horizontal สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวนอน หรือ
Flip Canvas Vertical สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวตั้ง

2. การกลับด้านภาพเฉพาะเลเยอร์ สามารถทำได้โดยการเลือกเลเยอร์ที่ต้องการกลับด้านภาพ จากนั้นเลือกคำสั่ง Edit --> Transform แล้วเลือก
Flip Horizontal สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวนอน หรือ
Flip Vertical สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวตั้ง


เมื่อได้แนวระนาบที่ตรงหรือพอใจแล้ว ก็ใช้เครื่องมือ crop เอาส่วนที่เป็นแบรคกราวออก


เราสามารถเปลี่ยนแปลง Layer ในรูปแบบต่างๆได้เช่น การย่อ/ขยาย การหมุนภาพ การบิดภาพ
ด้วยคำสั่ง Transform โดยคลิกเลือก Edit > Transform > (เลือก Transform Function ที่ต้องการ)
ลักษณะของ Transform

ภาพต้นแบบ

Scale

Rotate

Skew

Distort

Perspective


Photoshop เทคนิคการสร้างภาพโค้งงอ



1. ให้ท่านทำการเปิดไฟล์


2. จากนั้นทำการปล็ดล็อคเลเยอร์


3. ทำการคัดลอก Layer 0 จะได้ Layer copy


4. ทำการเทสีดำที่ Layer 0 เพราะส่วนนี้เราจะมาทำเป็นเงา


5. คลิกเลือก Image > Canvas Size... เพื่อขยายขนาดของภาพ


6. คลิกเลือก Image > Image Rotation > 90 CW เพื่อปรับองศาของภาพ


7. Layer 0 copy คลิกเลือก Filter > Distort > Shear... จากนั้นทำการบิดภาพ แล้วคลิก OK


8. Layer 0 คลิกเลือก Filter > Distort > Shear... จากนั้นทำการบิดภาพเล็กน้อย แล้วคลิก OK


9. คลิกเลือก Image > Image Rotation > 90 CCW เพื่อกลับภาพให้เป็นปกติ


10. Layer 0 copy ใช้เครื่องมือ Free Transform ปรับภาพดังรูปตัวอย่าง


11. Layer 0 ใช้เครื่องมือ Free Transform ปรับภาพดังรูปตัวอย่าง


12. คลิกเลือก Filter > Blur > Gaussian Blur... ปรับค่าเป็น 10 แล้วคลิก OK


13. คลิกเลือก Burn Tool สร้างเงาครึ่งหนึ่งของภาพทางด้านขวา


14. นำ BG เข้ามาวางเพื่อเป็นฉากหลัง จะเห็นผลลัพธ์ของการใช้งาน


บทที่ 3 เครื่องมือใน Photoshop



1 Lasso Tool เครื่องมือนี้ใช้โดยการคลิ๊กค้างลงตรงบริเวณที่ต้องการเลือก แล้วก็ลากไปตามทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ โปรแกรมก็จะสร้างเส้น Selection มาเชื่อมต่อระหว่างจุดเริ่มต้น กับจุดปลายทันที ส่วน Option Bar ของเครื่องมือนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือเลือกอื่น ๆ ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งมีลักษณะ ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 Lasso Tool Option Bar
2 Polyganal Lasso Tool เครื่องมือนี้ใช้โดยการคลิ๊กไปทีละจุด แล้วโปรแกรมจะสร้างเส้นตรงต่อระหว่างจุดให้เอง และเมื่อเราจุดมาจนใกล้กับจุดเริ่มต้น เคอร์เซอร์ก็จะเปลี่ยนมาเป็นรูปนี้
 หรือถ้าเราดับเบิ้ลคลิ๊กที่ตำแหน่งใดก็ตาม โปรแกรมจะต่อเส้นบรรจบกันให้ทันที ส่วนOption Bar ก็จะยังเหมือนกับ Lasso Tool เหมือนเดิม

3.  Magnatic Lasso Tool เครื่องมือนี้ใช้คล้าย ๆ กับ Polyganal Lasso Tool เพียงแต่ว่า เราแค่คลิ๊กที่จุดแรกเท่านั้น และก็ลากไปตามขอบของรูปเท่านั้นเอง เส้นที่เกิดขึ้นก็จะถูกดูดไปติดกับขอบของรูปเองโดยอัตโนมัติ หรือในบางจุดเราอาจจะคลิ๊กจุดลงไปก็ได้อีกเช่นกัน โปรแกรมก็จะสร้าง เส้น Selection มาต่อที่จุดนั้นให้เอง และเมื่อต้องการจบวงรอบ ก็ให้ทำเหมือนเครื่องมือ Polyganal Lasso Tool เท่านั้นเอง ส่วน Option Bar จะมีรายละเอียดแตกต่างออกไปจากเครื่องมืออื่น ๆ ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 Magnatic Lasso Tool Option Bar
 Width คือระยะในการค้นหาขอบภาพที่จะถูกดูดไปติด มีค่าตั้งแต่ 1-40 Pixels หากต้องการรู้ว่าขอบเขตของ Width ที่เราใส่ค่าไปมีขนาดเท่าใด ให้กดคีย์ Caps Lock เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายเป้าปืน และเมื่อต้องการให้กลับไปเป็นดังเก่าก็ให้คลิ๊กคีย์เดิมอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องใช้คีย์นี้ขณะที่ยังไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้เลือกขอบภาพใด ๆ
 Edge Conrast คือความแตกต่างของสีของขอบภาพที่เราเลือกกับสีที่เป็นสิ่งแวดล้อมของขอบภาพที่เราเลือก หลักการเลือกของ Magnatic Lasso Tool นั้นคล้ายกับ Magic Wand Tool เพราะใช้เลือกจากค่าสี แต่ Magnatic Lasso Tool นั้นเลือกจากความแตกต่าง ยิ่งสีที่ขอบนอกกับขอบในต่างกันมาก ยิ่งเลือกได้ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น การกำหนดค่าน้อยจะเป็นการเลือกขอบภาพที่มีความเปรียบต่างของสีน้อย และการกำหนดค่ามาก ๆ จะเป็นการเลือกขอบภาพที่มีความเปรียบต่างของสีมาก มีความคมของขอบภาพมาก ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 1-100%
 Frequency ค่านี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจะวางจุดต่าง ๆ ถี่ขนาดไหน ค่าน้อยก็จะมีจุดน้อย ค่ามากก็จะมีค่ามาก ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 0-100%
 Stylus Pressure ฟังก์ชั่นนี้ไว้ใช้กับเมาส์ปากกา โดยจะมีผลต่อค่า Width เมื่อเราเพิ่มน้ำหนักในการกดปากกา จะทำให้ค่า Width นั้นลดลง
 ในขณะที่กำลังเลือกอยู่นั้น เราสามารถเพิ่มค่า Width ได้โดยการกดคีย์ ] และลดโดยกดคีย์ [

      3. Quick Selection Tool 
สำหรับการเลือกส่วนของภาพที่มีสีเหมือนกัน โดยสามารถคลิกเลือกได้หลายสี ไม่เหมือน Magic Wand Tool ที่เลือกได้เพียงสีเดียว
1. คลิกเลือกเครื่องมือ
2. คลิกเลือกส่วนของภาพ
3. ส่วนที่ถูกเลือก จะปรากฏเป็นเส้นประ
4. คลิกเลือกสีในเครื่องมือสี
5. กด Alt + Delete ระบายสี
6. กด Ctrl + D ให้เส้นประหายไป

Magic Wand Tool

 Magic Wand Tool เครื่องมือนี้เมื่อเราคลิ๊กลงไปที่พื้นที่ไหนก็ตาม บริเวณที่มีค่าสีเหมือนกัน และใกล้เคียงกัน(แล้วแต่จะกำหนด) จะถูกเลือก ส่วนมากจะใช้เลือกส่วนที่เป็นสีเดียวกัน และมีพื้นที่มาก เพราะสะดวกรวดเร็ว ส่วน Option Bar มีหน้าตาดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 Magic Wand Tool Option Bar

ในส่วนแรกนั้นก็เหมือนเครื่องมืออื่น ๆ ในกลุ่ม Selection นี้

 Tolerance เป็นช่องสำหรับกำหนดค่าความใกล้เคียงของสี คือ กำหนดค่าน้อย ก็จะเลือกสีที่มีค่าใกล้เคียงกันคือจะเลือกได้น้อยลง ถ้ากำหนดค่ามากก็จะเลือกสีที่มีค่าสีกระจายมากขึ้น ก็คือเลือกได้กว้างขึ้น
 Anti-aliased อันนี้ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วเช่นกันครับ
 Contiguous ถ้าคลิ๊กที่นี่ให้มีเครื่องหมายถูก จะเป็นการเลือกเฉพาะพื้นที่ที่ติดกันเท่านั้น แต่ถ้าไม่เลือก จะเป็นการเลือกโดยอาศัยค่า Tolerance อย่างเดียว แม้พื้นที่ที่ถูกเลือกจะไม่อยู่ติดกันก็ตาม ดังตัวอย่าง รูปที่ 2

รูปที่ 2 ด้านซ้ายไม่ได้ใช้ฟังก์ชั่น Contiguous และด้านขวาเป็นภาพที่ใช้ Contiguous

 Use All Layers ตัวนี้จะทำการเลือกโดยพิจารณาจากทุกเลเยอร์ที่เปิดตาอยู่