วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 2 การใช้เครื่องมือ photoshop cs4







ข้อ1 ส่วนประกอบของโปรแกรม photoshop cs4 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของโปรแกรม


 แอพพลิเคชั่นบาร์(Application Bar)
          
          จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ เอาไว้ เช่น เปิดโปรแกรม Bridge หมุนพื้นที่ทำงาน ย่อ-ขยายภาพ, จัดเรียงวินโดว์ภาพและจัดองค์ประกอบของเครื่องมือ

เมนูบาร์(Menu Bar)



          Menu Bar หรือแถบคำสั่งที่เก็บชุดคำสั่งสำหรับจัดการไฟล์งานที่เปิดใช้งาน ใน Photoshop Cs4 โดยแบ่งการทำงานออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้



1. File ใช้จัดการไฟล์ลักษณะต่างๆเช่น การสร้างไฟล์ใหม่,การเปิดไฟล์ภาพ,การบันทึก,การนำเข้าไฟล์      และการส่งออกไฟล์เพื่อการทำงานในลักษณะต่างๆ

2. Edit เป็นชุดคำสั่งในหมวดหมู่การแก้ไข เช่น การตัด ,คัดลอก,การวาง รวมถึงการปรับแต่งค่าเบื่องต้นของโปรแกรม

3.  Image เป็นชุดคำสั่งในหมวดหมู่การปรับแต่งภาพ เช่นการปรับสี ,แสง, ความคมชัด ,การลดขนาดภาพและเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้งาน เป็นต้น

4.  Layer เป็นชุดคำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ทั้งการสร้างเลเยอร์ใหม่ แปลงเลเยอร์และจัดการเลเยอร์ด้านต่างๆ

5.  Select เป็นชุดคำสั่งที่ใส้สำหรับเลือกพื้นที่การใช้งานของรูปภาพ หรือใช้ร่วมกับคำสั่งที่อยู่ในทูลพาเนล

6.  Filter เป็นนชุดคำสั่งที่รวมเอฟเฟ็คต่างที่ใช้ในการปรับแต่งรูปภาพให้พิเศษกว่าภาพต้นฉบับ

7.  Analysis เป้นเครื่องมือวัดค่าและวิเคราะห์การทำงาน มีใช้ในPhotoshop CS4

8.  3D รวมคำสั่งที่ใช้กับภาพสามมิติ เป็นเมนูใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในPhotoshop CS4

9.  View ใช้เลือกรูปแบบการแสดงผล เช่น การซูมภาพ,การเรียกใช้ไม่บรรทัด,การแสดงเส้นกริดและเส้นไกด์

10.  Window ใช้เลือกแสดงพาเนลที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงการกำหนดรูปแบบการแสดงวินโดว์ในแบบต่างๆ

11.  Help ใช้แสดงความช่วยเหลือของรายละเอียดการใช้งานโปรแกรมในรูปแบบต่างๆ

ทูลบ็อกซ์ (Toolbox)

          กล่องเครื่องมือ จะประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน



Panel (พาเนล)


          พาเนล คือ กรอบหน้าต่างย่อยๆที่มีคำสั่งและเครื่องมือในการจัดการ ตรวจสอบและปรับแต่งภาพ เครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น พาเนล Color ใช้กำหนดสี , พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการเลเยอร์ เป็นต้น บางพาเนลที่มักใช้ร่วมกันจะถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น พาเนล Color พาเนล Swatches และ StyLes การเปิดใช้งาน Panel ให้คลิกที่คำสั่ง Windos>ชื่อพาเนล



การยุบ/ขยายพาเนล

          เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำงานเราสามารถยุบพาเนลที่ยึดกับแผงพาเนลและคอลัมน์ให้แสดงในรูปไอคอนได้ ซึ่งเมื่อต้องการใช้งานพาเนลใดก็ให้เปิดขึ้นมาเฉพาะพาเนลนั้น

1.  ยุบ/ขยายแผงพาเนลให้เป็นไอคอน ทำได้โดยให้คลิกที่แถบสีเทาเข้มด้านบนแผงพาเนล จากนั้นทุกพาเนลจะถูกยุบเป็นไอคอน




2.ปรับความกว้างของพาเนล




ข้อ 2 เครื่องมือสำคัญสำหรับใช้แต่งภาพประกอบไปด้วยกลุ่มเครื่องมืออะไรบ้าง

  กล่องเครื่องมือ Toolbox ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาดภาพ ตกแตกแต่งภาพ และแก้ไข ภาพ โดยบนปุ่มหนึ่ง ๆ จะมีปุ่มที่ซ่อนด้วยหลายเครื่องมือ หลายชิ้นอยู่รวมกัน
  การเปิด / ปิด Toolbox ทำได้โดยเลือกคำสั่ง Window > Tools
          กล่องเครื่องมือ Toolbox สำหรับการตกแต่งภาพ ประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้
เครื่องมือกลุ่ม Marquee
เครื่องมือกลุ่ม Dodge

เครื่องมือกลุ่ม Lasso
เครื่องมือกลุ่ม Palth Selection
เครื่องมือกลุ่ม Slice
เครื่องมือกลุ่ม Pen
เครื่องมือกลุ่ม Healing Brush
เครื่องมือกลุ่ม Type
เครื่องมือกลุ่ม Stamp
เครื่องมือกลุ่ม History Brush
เครื่องมือกลุ่ม Rectangel
เครื่องมือกลุ่ม Gradient
เครื่องมือกลุ่ม Note
เครื่องมือกลุ่ม Eyedropper
เครื่องมือกลุ่ม Blur

   รายละเอียดของเครื่องมือที่ใช้สำหรับตกแต่งรูปภาพ มีดังนี้
1.
  กลุ่มเครื่องมือการเลือก (Selection) ประกอบด้วย
Marquee
ใช้สำหรับเลือกพื้นที่บนภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือเลือกเป็นแถว
คอลัมน์ขนาด 1 พิเซล
Move
ใช้สำหรับย้ายพื้นที่ที่เลือกไว้ของภาพ หรือย้ายภาพในเลเยอร์หรือย้าย
เส้นไกด์
Lasso
ใช้เลือกพื้นที่บนภาพเป็นแนวเขตแบบอิสระ
Magic Wand
ใช้เลือกพื้นที่ด้วยวิธีระบายบนภาพ หรือเลือกจากสีที่ใกล้เคียงกัน
Crop
ใช้ตัดขอบภาพ
Slice
ใช้ตัดแบ่งภาพเพื่อบันทึกไฟล์ภาพย่อย ๆ ที่เรียกว่าสไลซ์ (Slice)
สำหรับนำไปสร้างเว็บเพจ
2.
กลุ่มเครื่องมือการแก้ไข (Edit) ประกอบด้วย
Healing Brush
ใช้ตกแต่งลบรอยตำหนิในภาพ
Clone Stamp
ใช้ทำสำเนาภาพ โดยก๊อปปี้ภาพจากบริเวณอื่นมาระบาย หรือ
ระบายด้วยลวดลาย
History Brush
ใช้ระบายภาพด้วยภาพของขั้นตอนเดิมที่ผ่านมา หรือภาพของสถานะ
เดิมที่บันทึกไว้
Eraser
ใช้ลบภาพบางส่วนที่ไม่ต้องการ
Gradient
ใช้เติมสีแบบไล่ระดับโทนสีหรือความทึบ
Blur
ใช้ระบายภาพให้เบลอ
Brush
ใช้ระบายลงบนภาพ
Dodge
ใช้ระบายเพื่อให้ภาพสว่างขึ้นหรือมืดลง
3.
กลุ่มเครื่องมือการสร้าง (Create) ประกอบด้วย
Pen
ใช้วาดเส้นพาธ (Path)
Horizontal Type
ใช้พิมพ์ตัวอักษรหรือข้อความลงบนภาพ
Path Selection
ใช้เลือกและปรับแต่งรูปทรงของเส้นพาธ
Rectangle
ใช้วาดรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปทรงสำเร็จรูป
4.
กลุ่มเครื่องมือมุมมอง (View) ประกอบด้วย
Notes
ใช้บันทึกหมายเหตุกำกับภาพที่เป็นข้อความหรือเสียง
Eyedropper
ใช้เืลือกสีจากสีต่าง ๆ บนภาพ
Hand
ใช้เลื่อนดูส่วนต่าง ๆ ของภาพ
Zoom
ใช้ย่อหรือขยายมุมมองภาด
5.
กลุ่มเครื่องมือเลือกสี (Color) ประกอบด้วย
Set Foreground Color, Set Background Color ใช้สำหรับกำหนดสี
Foreground Color และ  Background Color


ข้อ 3 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์หมายถึง
คำว่า กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
........กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)

คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
........คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
........ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
-กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้น

ดังนั้น กราฟิกแบบ 2 มิติ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ โดยมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ สามารถมองเห็นตามแนวแกน X(ความกว้าง) กับ แกน Y(ความยาว) ซึ่งต่างจาก 3 มิติ ซึ่ง 3 มิติ นั้นจะมีแกน Z (ความหนาหรือความสูง) เพิ่มเข้ามา ทำให้เราเห็นเป็นรูปร่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ส่วนรูปแบบหรือนามสกุลไฟล์ก็จะเป็น format รูปภาพทั่วๆไป เช่น .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF, .WMF, .PNG เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้โปรแกรม Adobe Photoshop, Illustrator, Freehand, Firework, Microsoft Visio, CorelDraw, GIMP เป็นต้น


ข้อ 4 นักศึกษาคิดว่าคอมพิวเตอร์กราฟฟิกสำคัญอะไรในการใช้ชีวิตประจำวัน

คอมพิวเตอร์กราฟิก


ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิกกราฟิก           หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซื่งใช้การสื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ
 เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ
        คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น

 การทำตกแต่งภาพที่เรียกว่า Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ
 ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
ในปี ค.ศ. 1940 คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพกราฟิกโดยใช้เครื่องพิมพ์ โดยรูปภาพที่ได้จะเป็นภาพที่เกิดจากการใช้ตัวอักษรมาประกอบกัน
 ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซสต์
( Massachusetts Institue Technology : MIT] ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลอดภาพ CRT(CathodeRayTube)เป็นส่วนแสดงผล
แทนเครื่องพิมพ์เนื่องจากมีความต้องการที่จะให้การติดต่อระหว่างผู้ใช้
กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ. 1950 ระบบ SAGE (Semi - Automatic Ground Environment)
ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาสามารถแปลงสัญญาณจากเรดาร์ ให้เป็นภาพบนจอ
คอมพิวเตอร์ได้ ระบบนี้เป็นระบบกราฟิก เครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง ( Light Pen : เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลชนิดหนึ่ง)
สำหรับการเลือกสัญลักษณ์ บนจอภาพได้ ในปี ค.ศ. 1950 - 1960
มีการทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1963 วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ( Ivan Sutherland) เป็นการพัฒนาระบบการวาดเส้น ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดจุดบนจอภาพได้โดยตรงโดยการใช้ปากกาแสง จากนั้นระบบกราฟิกจะสามารถลากเส้นเชื่อมจุดต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นภาพโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม
ระบบนี้ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของโปรแกรมช่วยในการออกแบบระบบงานต่างๆ เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร เป็นต้น ในระบบหลอดภาพ CRT สมัยแรกนั้น
เราสามารถวาดเส้นตรงระหว่างจุดสองจุดบนจอภาพได้ แต่ภาพเส้นที่วาดจะจางหายไปจากจอภาพอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการวาดซ้ำลงที่เดิมหลายๆ ครั้งในหนึ่งวินาที เพื่อให้เราสามารถมองเห็นว่า
เส้นไม่จางหายไป ซึ่งระบบแบบนี้มีราคาแพงมากในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960
แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 จึงมีราคาถูกลงเนื่องจากบริษัท ไอบีเอ็ม ( IBM) ได้ผลิตออกมาขายเป็นจำนวนมากในราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ จากการที่ราคาของจอภาพถูกลงมากนี่เอง
ทำให้สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไป นปี ค.ศ. 1968 บริษัท เทคโทรนิกส์ ( Tektronix) ได้ผลิตจอภาพแบบเก็บภาพไว้ได้จนกว่าต้องการจะลบ ( Storage - Tube CRT)
ซึ่งระบบนี้ไม่ต้องการหน่วยความจำและระบบการวาดซ้ำ จึงทำให้ราคาถูกลงมาก บริษัทตั้งราคาขายไว้เพียง 15,000 ดอลลาร์เท่านั้น จอภาพแบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมากในช่วงเวลา 5 ปี ต่อมา กลางปี
ค.ศ. 1970 เป็นช่วงเวลาที่อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาลดลงมาก ทำให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกมีราคาถูกลงตามไปด้วย ผู้ใช้ทั่วไปจึงสามารถนำมาใช้ในงานของตนได้
ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มแพร่หลายไปในงานด้านต่างๆ มากขึ้น
สำหรับซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกก็ได้มีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์เช่นกัน ซึ่งมีการเริ่มต้นจาก อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ผู้ซึ่งได้ออกแบบวิธีการหลักๆ รวมทั้งโครงสร้างข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร
์ กราฟิก ต่อมาก็มี สตีเฟน คูน ( Steven Coons, 1966) และ ปิแอร์ เบเซอร์ ( Pierre Bazier , 1972) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเส้นโค้งและภาพพื้นผิว ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ได้สมจริงสมจัง
มากขึ้น ในช่วง 10 ปีต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการสร้างภาพมากมายสำหรับใช้ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก และปัจจุบันเราก็ได้เห็นผลงานที่สวยงามและแปลกตา ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยต่างๆ
ในอดีตนั่นเอง
 ภาพกราฟิกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ และแบบ 3 มิติ
ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด สัญลักษณ์ การ์ตูนต่าง ๆ ในโทรทัศน์ เช่น ชินจัง โดเรม่อน
ภาพกราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ เช่น 3D max, Maya ทำให้ได้ภาพที่มีสีและแสงเงาเหมือนจริง 
เหมาะสำหรับการออกแบบและสถาปัตยกรรม เช่น การผลิตรถยนต์และภาพยนตร์การ์ตูน 3 มิติ