วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บทที่ 4 เครื่องมือใน Photoshop
การย่อหรือขยายขนาด ด้วยวิธีนี้จะสามารถกำหนดขนาดของภาพได้ ต้องการย่อขยายเท่าใดก็พิมพ์ตัว เลขลงไป ง่ายและแน่นอนกว่า
1. คลิกเมนู Object>>Transform>>Scale เปิดกรอบข้อความ Scale ขึ้นมาก่อน
2. คลิกเครื่องมือเลือกภาพ Selection แล้วคลิกเลือกภาพที่ต้องการ
3. คลิกและพิมพ์เปอร์เซ็นต์ที่ต้องการย่อหรือขยาย ถ้าจะย่อก็ลดค่าให้น้อยกว่าเดิมจะขยายก็เพิ่ม ค่าตัวเลขให้มากกว่าเดิม
4. คลิกติ๊กถูกคำสั่ง Preview เพื่อดูผลงานขณะปรับแต่งบัดเดี๋ยวนั้น
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
1. คลิกเมนู Object>>Transform>>Scale เปิดกรอบข้อความ Scale ขึ้นมาก่อน
2. คลิกเครื่องมือเลือกภาพ Selection แล้วคลิกเลือกภาพที่ต้องการ
3. คลิกและพิมพ์เปอร์เซ็นต์ที่ต้องการย่อหรือขยาย ถ้าจะย่อก็ลดค่าให้น้อยกว่าเดิมจะขยายก็เพิ่ม ค่าตัวเลขให้มากกว่าเดิม
4. คลิกติ๊กถูกคำสั่ง Preview เพื่อดูผลงานขณะปรับแต่งบัดเดี๋ยวนั้น
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
การหมุนภาพ (Rotate) และการกลับด้านภาพ (Flip) | ||
บทความนี้จะมาทำการเรียนรู้วิธีการหมุนและกลับด้านภาพกันค่ะ เป็นบทความพื้นฐานที่ทำได้ง่าย ๆ แต่หากไม่ทราบก็จะทำให้การตกแต่งภาพไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการได้ ดังนั้นเราควรมีความรู้ในเรื่องนี้ไว้ค่ะ
| ||
การตกแต่งภาพใน Photoshop ในบางครั้งเราจะต้องทำการหมุนหรือกลับด้านภาพ ซึ่งมีลักษณะการใช้อยู่ 2 แบบคือ
1. การหมุนและกลับด้านแบบทั้งชิ้นงาน 2. การหมุนและกลับด้านภาพเฉพาะเลเยอร์ วิธีการหมุนภาพ 1 การหมุนภาพแบบทั้งชิ้นงาน สามารถทำได้โดยเลือกคำสั่ง Image --> Rotate Canvas แล้วเลือก 180 องศา เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 180 องศา หรือ 90 องศา CW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางตามเข็มนาฬิกา หรือ 90 องศา CCW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา หรือ Arbritary ... เลือกแบบสามารถกำหนดองศาที่ต้องการหมุนภาพ โดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้มีทิศทางทวนหรือตามเข็มนาฬิกา 2.การหมุนภาพเฉพาะเลเยอร์ การหมุนภาพเฉพาะเลเยอร์นั้น ให้เราทำการคลิกเลือกเลเยอร์ที่ ต้องการหมุนก่อน จากนั้นสามารถทำได้โดยเลือกใช้คำสั่ง Edit --> Transform จากนั้นเลือก Rotate 180 องศา เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 180 องศา หรือ Rotate 90 องศา CW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางตามเข็มนาฬิกา หรือ Rotate 90 องศา CCW เพื่อหมุนภาพจากเดิมไป 90 องศาในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา | |||
ผลลัพธ์การใช้งานทั้งสองรูปแบบจะทำให้ได้เกิดการหมุนภาพเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่คำสั่งการหมุนภาพทั้งชิ้นงาน จะทำให้ภาพในทุก ๆ เลเยอร์หมุนตามคำสั่งที่ใช้ แต่การใช้คำสั่งแบบที่ 2 จะทำให้ภาพในเลเยอร์ที่เลือกไว้เท่านั้นที่เกิดการหมุนตามคำสั่งที่ใช้ โดยภาพในเลเยอร์อื่น ๆ ยังคงมีลักษณะเหมือนเดิม
นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถหมุนภาพได้อิสระโดยไม่จำเป็นต้องทำการกำหนดค่าเป็นองศาได้ แต่วิธีการนี้จะสามารถใช้หมุนภาพเฉพาะในเลเยอร์เท่านั้น โดยใช้คำสั่ง Edit --> Transform --> Rotate ซึ่งจะทำให้ภาพในเลเยอร์ที่เราเลือกไว้ เกิดลักษณะเส้นขอบดังภาพด้านล่าง ซึ่งเราสามารถใช้เมาส์เคลื่อนเข้าไปใกล้ ๆ บริเวณที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมบนเส้นขอบ จะทำให้สัญลักษณ์ของเมาส์เปลี่ยนเป็นเส้นโค้งมีลูกศรทั้งสองข้าง ให้เราคลิกมาค้างไว้ แล้วลากเมาส์จะทำให้ภาพของเราหมุนไปตามทิศทางที่ลากเมาส์ หากเราสังเกตที่รูปเราจะเห็นสัญลักษณ์ที่จุดศูนย์กลางของรูป ซึ่งเจ้าสัญลักษณ์นี้ เป็นตัวกำหนดจุดศูนย์กลางของการหมุนภาพ เราสามารถเลื่อนสัญลักษณ์ของตำแหน่งนี้ไปไว้ที่ตำแหน่งไหนก็ได้ ลองทำดูนะค่ะ ว่าจะแตกต่างจากปกติอย่างไร |
การกลับด้านภาพ เป็นลักษณะการกลับภาพจากซ้ายไปขวา หรือลักษณะการกลับด้านแบบที่มองเห็นในกระจกเงาค่ะ มีด้วยกัน 2 แบบเหมือน ๆ กลับการหมุนภาพ นั้นก็คือ 1. การกลับด้านภาพแบบทั้งชิ้นงาน สามารถทำได้โดยการเลือกคำสั่ง Image --> Rotate Canvas แล้วเลือก Flip Canvas Horizontal สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวนอน หรือ Flip Canvas Vertical สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวตั้ง |
2. การกลับด้านภาพเฉพาะเลเยอร์ สามารถทำได้โดยการเลือกเลเยอร์ที่ต้องการกลับด้านภาพ จากนั้นเลือกคำสั่ง Edit --> Transform แล้วเลือก Flip Horizontal สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวนอน หรือ Flip Vertical สำหรับกลับด้านภาพในลักษณะแนวตั้ง | |||
|
บทที่ 3 เครื่องมือใน Photoshop
1. Lasso Tool เครื่องมือนี้ใช้โดยการคลิ๊กค้างลงตรงบริเวณที่ต้องการเลือก แล้วก็ลากไปตามทิศทางที่ต้องการ เมื่อปล่อยเมาส์ โปรแกรมก็จะสร้างเส้น Selection มาเชื่อมต่อระหว่างจุดเริ่มต้น กับจุดปลายทันที ส่วน Option Bar ของเครื่องมือนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือเลือกอื่น ๆ ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งมีลักษณะ ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 Lasso Tool Option Bar
2. Polyganal Lasso Tool เครื่องมือนี้ใช้โดยการคลิ๊กไปทีละจุด แล้วโปรแกรมจะสร้างเส้นตรงต่อระหว่างจุดให้เอง และเมื่อเราจุดมาจนใกล้กับจุดเริ่มต้น เคอร์เซอร์ก็จะเปลี่ยนมาเป็นรูปนี้
หรือถ้าเราดับเบิ้ลคลิ๊กที่ตำแหน่งใดก็ตาม โปรแกรมจะต่อเส้นบรรจบกันให้ทันที ส่วนOption Bar ก็จะยังเหมือนกับ Lasso Tool เหมือนเดิม
หรือถ้าเราดับเบิ้ลคลิ๊กที่ตำแหน่งใดก็ตาม โปรแกรมจะต่อเส้นบรรจบกันให้ทันที ส่วนOption Bar ก็จะยังเหมือนกับ Lasso Tool เหมือนเดิม
3. Magnatic Lasso Tool เครื่องมือนี้ใช้คล้าย ๆ กับ Polyganal Lasso Tool เพียงแต่ว่า เราแค่คลิ๊กที่จุดแรกเท่านั้น และก็ลากไปตามขอบของรูปเท่านั้นเอง เส้นที่เกิดขึ้นก็จะถูกดูดไปติดกับขอบของรูปเองโดยอัตโนมัติ หรือในบางจุดเราอาจจะคลิ๊กจุดลงไปก็ได้อีกเช่นกัน โปรแกรมก็จะสร้าง เส้น Selection มาต่อที่จุดนั้นให้เอง และเมื่อต้องการจบวงรอบ ก็ให้ทำเหมือนเครื่องมือ Polyganal Lasso Tool เท่านั้นเอง ส่วน Option Bar จะมีรายละเอียดแตกต่างออกไปจากเครื่องมืออื่น ๆ ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 Magnatic Lasso Tool Option Bar
Width คือระยะในการค้นหาขอบภาพที่จะถูกดูดไปติด มีค่าตั้งแต่ 1-40 Pixels หากต้องการรู้ว่าขอบเขตของ Width ที่เราใส่ค่าไปมีขนาดเท่าใด ให้กดคีย์ Caps Lock เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายเป้าปืน และเมื่อต้องการให้กลับไปเป็นดังเก่าก็ให้คลิ๊กคีย์เดิมอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องใช้คีย์นี้ขณะที่ยังไม่ได้ใช้เครื่องมือนี้เลือกขอบภาพใด ๆ
Edge Conrast คือความแตกต่างของสีของขอบภาพที่เราเลือกกับสีที่เป็นสิ่งแวดล้อมของขอบภาพที่เราเลือก หลักการเลือกของ Magnatic Lasso Tool นั้นคล้ายกับ Magic Wand Tool เพราะใช้เลือกจากค่าสี แต่ Magnatic Lasso Tool นั้นเลือกจากความแตกต่าง ยิ่งสีที่ขอบนอกกับขอบในต่างกันมาก ยิ่งเลือกได้ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น การกำหนดค่าน้อยจะเป็นการเลือกขอบภาพที่มีความเปรียบต่างของสีน้อย และการกำหนดค่ามาก ๆ จะเป็นการเลือกขอบภาพที่มีความเปรียบต่างของสีมาก มีความคมของขอบภาพมาก ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 1-100%
Frequency ค่านี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจะวางจุดต่าง ๆ ถี่ขนาดไหน ค่าน้อยก็จะมีจุดน้อย ค่ามากก็จะมีค่ามาก ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 0-100%
Stylus Pressure ฟังก์ชั่นนี้ไว้ใช้กับเมาส์ปากกา โดยจะมีผลต่อค่า Width เมื่อเราเพิ่มน้ำหนักในการกดปากกา จะทำให้ค่า Width นั้นลดลง
ในขณะที่กำลังเลือกอยู่นั้น เราสามารถเพิ่มค่า Width ได้โดยการกดคีย์ ] และลดโดยกดคีย์ [
Edge Conrast คือความแตกต่างของสีของขอบภาพที่เราเลือกกับสีที่เป็นสิ่งแวดล้อมของขอบภาพที่เราเลือก หลักการเลือกของ Magnatic Lasso Tool นั้นคล้ายกับ Magic Wand Tool เพราะใช้เลือกจากค่าสี แต่ Magnatic Lasso Tool นั้นเลือกจากความแตกต่าง ยิ่งสีที่ขอบนอกกับขอบในต่างกันมาก ยิ่งเลือกได้ถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น การกำหนดค่าน้อยจะเป็นการเลือกขอบภาพที่มีความเปรียบต่างของสีน้อย และการกำหนดค่ามาก ๆ จะเป็นการเลือกขอบภาพที่มีความเปรียบต่างของสีมาก มีความคมของขอบภาพมาก ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 1-100%
Frequency ค่านี้จะเป็นตัวกำหนดว่าจะวางจุดต่าง ๆ ถี่ขนาดไหน ค่าน้อยก็จะมีจุดน้อย ค่ามากก็จะมีค่ามาก ค่านี้มีค่าตั้งแต่ 0-100%
Stylus Pressure ฟังก์ชั่นนี้ไว้ใช้กับเมาส์ปากกา โดยจะมีผลต่อค่า Width เมื่อเราเพิ่มน้ำหนักในการกดปากกา จะทำให้ค่า Width นั้นลดลง
ในขณะที่กำลังเลือกอยู่นั้น เราสามารถเพิ่มค่า Width ได้โดยการกดคีย์ ] และลดโดยกดคีย์ [
3. Quick Selection Tool
สำหรับการเลือกส่วนของภาพที่มีสีเหมือนกัน โดยสามารถคลิกเลือกได้หลายสี ไม่เหมือน Magic Wand Tool ที่เลือกได้เพียงสีเดียว
1. คลิกเลือกเครื่องมือ
2. คลิกเลือกส่วนของภาพ
3. ส่วนที่ถูกเลือก จะปรากฏเป็นเส้นประ
4. คลิกเลือกสีในเครื่องมือสี
5. กด Alt + Delete ระบายสี
6. กด Ctrl + D ให้เส้นประหายไป
สำหรับการเลือกส่วนของภาพที่มีสีเหมือนกัน โดยสามารถคลิกเลือกได้หลายสี ไม่เหมือน Magic Wand Tool ที่เลือกได้เพียงสีเดียว
1. คลิกเลือกเครื่องมือ
2. คลิกเลือกส่วนของภาพ
3. ส่วนที่ถูกเลือก จะปรากฏเป็นเส้นประ
4. คลิกเลือกสีในเครื่องมือสี
5. กด Alt + Delete ระบายสี
6. กด Ctrl + D ให้เส้นประหายไป
Magic Wand Tool
Magic Wand Tool เครื่องมือนี้เมื่อเราคลิ๊กลงไปที่พื้นที่ไหนก็ตาม บริเวณที่มีค่าสีเหมือนกัน และใกล้เคียงกัน(แล้วแต่จะกำหนด) จะถูกเลือก ส่วนมากจะใช้เลือกส่วนที่เป็นสีเดียวกัน และมีพื้นที่มาก เพราะสะดวกรวดเร็ว ส่วน Option Bar มีหน้าตาดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 Magic Wand Tool Option Bar
ในส่วนแรกนั้นก็เหมือนเครื่องมืออื่น ๆ ในกลุ่ม Selection นี้
Tolerance เป็นช่องสำหรับกำหนดค่าความใกล้เคียงของสี คือ กำหนดค่าน้อย ก็จะเลือกสีที่มีค่าใกล้เคียงกันคือจะเลือกได้น้อยลง ถ้ากำหนดค่ามากก็จะเลือกสีที่มีค่าสีกระจายมากขึ้น ก็คือเลือกได้กว้างขึ้น
Anti-aliased อันนี้ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วเช่นกันครับ
Contiguous ถ้าคลิ๊กที่นี่ให้มีเครื่องหมายถูก จะเป็นการเลือกเฉพาะพื้นที่ที่ติดกันเท่านั้น แต่ถ้าไม่เลือก จะเป็นการเลือกโดยอาศัยค่า Tolerance อย่างเดียว แม้พื้นที่ที่ถูกเลือกจะไม่อยู่ติดกันก็ตาม ดังตัวอย่าง รูปที่ 2
รูปที่ 2 ด้านซ้ายไม่ได้ใช้ฟังก์ชั่น Contiguous และด้านขวาเป็นภาพที่ใช้ Contiguous
Use All Layers ตัวนี้จะทำการเลือกโดยพิจารณาจากทุกเลเยอร์ที่เปิดตาอยู่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)